|
สัตวภูมิศาสตร์
Zoogeographic
xx
เนื่องจากลักษณะภูมิประเทศตามส่วนต่างๆ ของโลกที่มีความแตกต่างกัน
ซึ่งรวมถึง ภูมิอากาศ พืชพรรณ ทำให้แต่ละส่วนมีการวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตที่แตกต่างกันออกไป
จึงทำให้สัตว์ในแต่ละส่วนของโลกมีความแตกต่างกัน เมื่อนักวิทยาศาสตร์ได้ทำการศึกษา
จึงแบ่งพื้นที่บนโลกออกเป็นเขตตามลักษณะของสัตว์ที่พบ และเรียกเขตเหล่านี้ว่า
เขตสัตวภูมิศาสตร์ zoogeographic Region
อันประกอบด้วย
|
xx |
 |
x
เขตพาลีอาร์คติก Palearctic เป็นเขตที่ใหญ่ที่สุด
ครอบคลุม เอเชียตอนบน ตะวันออกกลาง ยุโรป และแอฟริกาตอนเหนือ
x
เขตเอธิโอเปียน
Ethiopian มีพื้นที่ครอบคลุมแอฟริกาเกือบทั้งทวีป
ยกเว้นตอนเหนือ
x
เขตนีอาร์คติก Nearctic มีพื้นที่ครอบคลุมทวีปอเมริกาเหนือ
x
เขตนีโอทรอปิค Neotropic มีพื้นที่ครอบคลุมทวีปอเมริกากลาง
และ อเมริกาใต้
x
เขตโอเรียนตัล Oriental มีพื้นที่ครอบคลุมเอเชียใต้
และ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
x
เขตออสเตรเลียน
Australian มีพื้นที่ครอบคลุมทวีปออสเตรเลีย
และ หมู่เกาะใกล้เคียง
x
เขตโอเชียนิค Oceanic จะเป็นหมู่เกาะต่างๆ
ในมหาสมุทร ที่ไม่อยู่ในเขตอื่นๆข้างต้น
|
|
xx
ประเทศไทยเป็นจุดดูนกที่ดีแห่งหนึ่งของโลก โดยประเทศของเราตั้งอยู่ในคาบสมุทรอินโดจีน
ในเขตสัตว์ภูมิศาสตร์ Oreintal ซึ่งเป็นเขตที่มีสัตว์อาศัยอยู่อย่างหนาแน่น
โดยเขตนี้มีพื้นที่ตั้งแต่ประเทศอินเดีย หมู่เกาะในมหาสมุทรอินเดีย
จีนตอนใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมไปถึง หมู่เกาะชวา สุมาตรา
บอร์เนียว ในประเทศอินโดนีเซีย และหมู่เกาะในประเทศฟิลิปปินส์
|
|
xxx
นอกจากนี้ประเทศไทยยังเป็นรอยเชื่อมต่อของเขตย่อยถึง ๔ เขต จนได้ชื่อว่า
'zoogeographic crossroads' อันได้แก่
xx
เขตย่อยหิมาลายัน-จีน Sino-Himalayan ซึ่งเขตนี้มีพื้นที่ในเขตเทือกเขาหิมาลัย
ตั้งแต่ เนปาล อินเดีย พม่า จีนตอนใต้ ซึ่งเราจะพบเขตย่อยนี้ทางภาคเหนือของประเทศไทย
นกที่พบในเขตนี้เช่น นกกินปลีหางยาวเขียว Green-tailed
Sunbird
xx
เขตย่อยอินโด-พม่า Indo-Burmese มีพื้นที่ในตอนล่างของประเทศพม่า
เราจะพบเขตย่อยนี้ทางตะวันตกในเขตเทือกเขาตะนาวศรี นกที่พบในเขตนี้
เช่น นกภูหงอนพม่า Burmese Yuhina
xx
เขตย่อยอินโดจีน Indo-Chinese มีพื้นที่ในเขตประเทศกัมพูชา
ลาวและเวียดนาม เราสามารถพบนกในเขตย่อยนี้ทางภาคตะวันออกและตะวันออกเฉียงเหนือ
นกที่พบเช่น ไก่ฟ้าพญาลอ Siamese Fireback,
นกโกโรโกโส Coral-billed Ground-Cuckoo
xx
เขตย่อยซุนดา Sundaic ซึ่งมีพื้นที่ครอบคลุมคาบสมุทรไทยมาเลย์
เกาะสุมาตรา เกาะชวา เราจะพบเขตย่อยนี้ได้ทางภาคใต้
xx
ซึ่งนกบางชนิดเราสามารถพบได้ในหลายๆ เขต แต่นกบางชนิดพบเฉพาะบางเขตเท่านั้น
หลายชนิดก็เป็นนกเฉพาะถิ่น Endemic เฉพาะเขตนั้นเลย
เช่น ไก่ฟ้าพญาลอ และนกโกโรโกโส ที่เป็นนกเฉพาะถิ่นของเขตอินโดจีน
การที่ประเทศไทยเป็นจุดเชื่อมต่อเขตย่อยเช่นนี้ ทำให้เราสามารถพบนกของเขตย่อยทั้งสี่เขต
ได้ในประเทศไทย
|
|
|
xxx
นอกจากนี้ประเทศไทยยังเป็นเส้นทางสำคัญสำหรับการอพยพช่วงฤดูหนาวของนกหลายชนิดจากเขตพาลีอาร์คติก
Palearctic เช่น นกชายเลนชนิดต่างๆ,
เหยี่ยว, รวมทั้งนกอพยพชนิดอื่นๆ อย่างเช่นนกจับแมลง ที่ใช้ประเทศไทยเป็นเส้นทางไปสู่ที่อาศัยช่วงฤดูหนาวใน
ประเทศมาเลเซีย หมู่เกาะในประเทศอินโดนีเซีย บางชนิดไปไกลถึงออสเตรเลียทีเดียว
แต่ก็มีนกจำนวนไม่น้อยที่ใช้ประเทศไทยเป็นที่อาศัยในช่วงฤดูหนาว เช่น
นกชายเลนหลายๆ ชนิดก็ใช้พื้นที่ชายฝั่งทะเลในการหากิน นกอพยพหลายชนิดก็อาศัยอยู่ในป่า
บางชนิดก็อาศัยอยู่ในทุ่งนา สวนต้นไม้ บ้านเรือนใกล้ๆเรานี่เอง นอกจากนี้ยังมีนกหลายชนิดที่จะอพยพเข้ามาในช่วงฤดูอื่นๆ
ด้วย เช่น ฤดูฝนจะมีนกหลายชนิดอพยพเข้ามาทำรังวางไข่ในบ้านเรา เช่น
นกแต้วแล้ว Pitta หลายๆ ชนิด นกยางดำ
Black Bittern เป็นต้น
xxx
และเนื่องด้วยภูมิอากาศของประเทศไทยที่เป็นแบบมรสุมเขตร้อน ประเทศไทยจึงมีป่าหลายประเภท
ทั้งป่าดิบเขา ป่าดงดิบ ป่าสน ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ทุ่งหญ้า และเมื่อรวมกับการมีชายฝั่งทะเลที่ยาวกว่า
๒,๐๐๐ กม. เราจึงมีป่าชายเลนดีๆ หลายแห่งอีกด้วย ทำให้ประเทศไทยมีพื้นป่าที่หลากหลาย
อันเป็นแหล่งอาหารสำหรับนกแต่ละชนิดต่างๆ กันไป
xxx
เหล่านี้จึงเป็นเหตุให้ประเทศไทยที่มีพื้นที่ไม่มากนักเพียง 0.3
% ของพื้นที่โลก แต่สามารถพบนกได้กว่า ๙๙๓ ชนิด หรือกว่า ๑๐ % ของนกทั้งโลกทีเดียว
จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่าทำไมเราจึงพบนักดูนกจากต่างประเทศมากมายเข้ามาดูนกในบ้านเรา
เพราะความหลากหลายของนกที่สามารถพบได้ในบ้านเราแห่งนี้ เป็นที่สนใจของคนทั่วโลก
ก็ช่วยกันรักษาสิ่งดีๆ ที่ธรรมชาติมอบให้ ให้อยู่กับเมืองไทยไปอีกนานๆ
นะครับ
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|